ผู้เขียน หัวข้อ: ทำรากฟันเทียมในกรุงเทพฯ รากฟันเทียม ข้อด และเหตุผลที่ควรใส่ เหมาะกับใครมากที่สุด  (อ่าน 256 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 461
    • ดูรายละเอียด
รากฟันเทียม หรือรากเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากไททาเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมแบบติดแน่น และแบบถอดได้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง


ส่วนประกอบของรากฟันเทียม

-    ส่วนรากเทียมที่ฝังลงไปในกระดูก (Implant Body Or Fixture): คือ ส่วนของรากเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู หรือน๊อตที่ฝังจมลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อให้มีการยึดติดกับกระดูกขากรรไกรทำหน้าที่เหมือนรากฟัน
-    Implant Abutment: ส่วนยึดต่อระหว่าง Implant Body และส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ทำจากไททาเนียม หรือเซรามิค ทำหน้าที่แทนส่วนของตัวฟัน
-    ส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthetic Component): คือ ส่วนของฟันเทียม เช่น ครอบสะพานฟัน ฟันเทียมถอดได้ที่ยึดกับ Implant Abutment โดยใช้กาวทางทันตกรรมยึด หรือสกรู

ข้อดี ของรากฟันเทียม

    เพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติ และใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
    ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
    สามารถบดเคี้ยวได้ดี
    ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่นๆ
    ช่วยการใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ความรู้สึกสบาย มีความแน่นกระชับมากยิ่งขึ้น
    ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกข้างเคียง
    ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติมากที่สุด
    เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
    คงทน และถาวร
    เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ จะหมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร


ชนิดของรากฟันเทียม

รากฟันเทียมแบ่งได้หลักๆ เป็น 3 ชนิด คือ Conventional Immediate implant และ Immediate Loaded Implant จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพภายในช่องปาก ความจำเป็นของคนไข้ และประสบการณ์ของ   ทันตแพทย์


Conventional Implant
         
คือ การฝังรากเทียมโดยทั่วไปขั้นตอนคร่าวๆ คือ ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิมพ์ปากและ X - Ray    ในบางตำแหน่งอาจจะต้องทำ CT Scan ร่วมด้วยเพื่อทำการวางแผนการรักษา จากนั้นจะนัดหมายผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัดเล็กฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร หลังจากฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้รากเทียม และกระดูกยึกติดกันเต็มที่ ประมาณ 3 - 4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก โดยทันตแพทย์ก็จะทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเทียม ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1 - 4 สัปดาห์ ข้อจำกัดในการรักษาจะมีน้อยมากหากวางแผนการรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ที่พบมาก คือ ผู้มีปริมาณของกระดูกน้อยมากๆ ในบริเวณที่จะทำการฝังรากเทียม ทำให้ต้องมีการปลูกกระดูกก่อนหรือในบางรายอาจจะปลูกกระดูกไม่ได้


Immediate Implant
         
คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือ ลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของกระดูก ลดโอการการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่
 

Immediate loaded Implant
         
คือ การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ทำการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้มาก ให้ความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้มีอยู่มาก
ชนิดของส่วนทันตกรรมประดิษฐ์


ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธี เช่น การทดแทนฟัน 1ซี่

-    ในกรณีที่มีฟันหายไปเพียง 1 หรือ 2 ซี่ การใส่ฟันเทียมติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือ รากฟันเทียม และสะพานฟัน แต่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีใส่ฟันที่ให้ผลสำเร็จดีที่สุด และมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน คือ ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และสะพานฟันมีส่วนของครอบฟันติดกันทั้งหมด หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหาจะต้องรื้อออกทั้งหมด และในฟันที่ไม่แข็งแรงการใส่สะพานฟันอาจทำอันตรายต่อฟันหลักยึดได้

-    การทดแทนฟันหลายซี่ ในกรณีที่ฟันหายไป1 ซี่แต่หลายๆ ตำแหน่ง ก็สามารถใส่รากฟันเทียมรองรับครอบฟันได้ แต่กรณีที่ฟันหายไปหลายๆ ซี่
-    ติดๆ กันทันตแพทย์สามารถทำการฝังรากฟันเทียม เพื่อรองรองสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดี คือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลง หรือในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้
-    ในกรณีที่มีฟันหายไปเป็นจำนวนมาก รากฟันเทียมสามารถช่วยให้ฟันเทียมแบบถอดได้แน่นขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ตะขอฟันปลอม หรือทำให้ส่วนของเหงือกปลอมสั้นลงได้
-    การทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก ในกรณีที่ฟันหายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ แบบติดแน่น ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะทำการฝังรากฟันเทียมจำนวน  2 - 4 ตัว วิธีการและความยุ่งยากก็จะแตกต่างกันไป
-    ติดๆ กันทันตแพทย์สามารถทำการฝังรากฟันเทียม เพื่อรองรองสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดี คือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลง หรือในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้


ผู้ที่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม และผู้ที่ไม่ควรทำ
       
ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยรากฟันเทียมได้ทุกคนโดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์  ควรคลอดบุตรก่อน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้า และขากรรไกร ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือสูบบุหรี่จัดจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา ส่วนผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม
อาการอย่างไร แพทย์จึงพิจารณาให้ทำรากฟันเทียม
         
ปัจจัยสำคัญ คือ คนไข้ต้องการฟันเทียมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ต้องการยิ้ม และพูดคุยอย่างมั่นใจ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี หรือทดแทนฟันที่เหลืออยู่ซึ่งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะเป็นฟันหลักยึดให้กับฟันเทียมชนิดอื่นๆ แม้แต่ในรายที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ รากฟันเทียมมีส่วนช่วยได้อย่างมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมในกรณีที่ฟันหายไป รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่มีฟันหายไป    1 - 2 ซี่ รวมถึงรากฟันเทียมก็มีส่วนช่วยให้ฟันเทียมชนิดถอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่ารากฟันเทียมมีส่วนช่วยในการทำฟันเทียมเกือบทุกกรณี
การเตรียมตัวเข้ารับการทำรากฟันเทียม
       
ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจ และประเมินโดยละเอียดจาก  ทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังเพราะอาจแก้ไขได้ยากมาก อีกทั้งทันตแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้และความชำนาญ สามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยว และขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาอยู่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ และที่สำคัญผู้ป่วยควรดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีก่อนเข้ารับการรักษา


อายุการใช้งาน และการดูแลรักษารากฟันเทียม
         
รากฟันเทียม ทำมาจากไททาเนียมซึ่งมีความคงทนมาก อายุการใช้งานจะอยู่ที่การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย รากฟันเทียมไม่ผุแต่เกิดโรคเหงือกอักเสบได้หากดูแลได้ไม่ดี การดูแลรักษาก็เหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ คือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ หากทำทุกอย่างได้ดีรากฟันเทียมก็จะอยู่ได้ไปตลอด


ทำรากฟันเทียมในกรุงเทพฯ รากฟันเทียม ข้อด และเหตุผลที่ควรใส่ เหมาะกับใครมากที่สุด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://globaldentalcomplex.com/th/service/dental-implants/

xaquin

  • บุคคลทั่วไป