ผู้เขียน หัวข้อ: เทคโนโลยีศักยภาพสูงในการพลิกโฉมวงการสุขภาพ  (อ่าน 204 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 455
    • ดูรายละเอียด
เทคโนโลยีศักยภาพสูงในการพลิกโฉมวงการสุขภาพ
« เมื่อ: วันที่ 21 กันยายน 2023, 16:36:14 น. »
ในวันที่คนอยู่บ้านกันมากขึ้นและมีคนไข้ในโรงพยาบาลมากขึ้น   วงการสุขภาพกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เทคโนโลยีที่คาดการณ์ไว้ว่าจะในอนาคตจึงถูกนำมาใช้ในปัจจุบันด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  และถูกคาดหวังว่าจะช่วยให้การวินิจฉัยโรค การรักษา และการดูแลทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วยในอนาคต มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ต่อไปนี้คือ 5 เทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการพลิกโฉมวงการการแพทย์และสุขภาพ


1. ปัญญาประดิษฐ์ กับวงการแพทย์ (Artificial Intelligence : AI)

เป็นที่ทราบกันดีว่าแวดวงการแพทย์มีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล ปัจจุบันสถานพยาบาลต่างๆ กำลังมองหาวิธีเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานและการดูแลรักษาผู้ป่วย  AI เป็นเทคโนโลยีสำคัญต้นๆที่จะช่วยแก้ปัญหา เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ถี่ถ้วนและจดจำข้อมูล  ยังสามารถช่วยแนะแนวทางและหาทางออกของปัญหาให้กับผู้ป่วย ทำให้สามารถนำเสนอการรักษาที่ดีเยี่ยมสู่ผู้ป่วยได้ 

AI ช่วยพัฒนาการเข้าถึงและวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างต่อเนื่อง โดยความช่วยเหลือของระบบประมวลผลภาพดิจิทัล, การจดจำแบบแผน, และการเรียนรู้ของเครื่องจักรบน AI แพลตฟอร์ม อีกทั้งยังสามารถในการให้ข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ทันทีที่ต้องการแบบ real time 

คาดกันว่าตลาดของ AI ที่เกี่ยวเนื่องกับวงการสุขภาพจะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วทั่วโลกด้วยอัตรา การเติบโตที่สูงถึง 42% ไปจนถึงปี 2021


2. การใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Robotics)

ทำหน้าที่ช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ ของบุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้สามารถแบ่ง ออกได้เป็น 3 กลุ่มตามการพัฒนาและประยุกต์ใช้ ดังนี้

-    หุ่นยนต์เพื่อตรวจคัดกรอง วินิจฉัย รักษา และผ่าตัด เช่น หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัด หุ่นยนต์เสริมการรังสีวินิจฉัย หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบเซ็นเซอร์และคัดกรองแบบอัตโนมัติ
-    หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูทางการแพทย์ เช่น หุ่นยนต์เสริมสมรรถนะคนพิการ แขนขาเทียมอัจฉริยะ
-    หุ่นยนต์เพื่อการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และการติดตามเฝ้าระวัง เช่น หุ่นยนต์ต้อนรับในโรงพยาบาล หุ่นยนต์นำส่งยา หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลและระบบการเฝ้าระวังทางไกล (Remote Monitoring System)

ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้ในทางการแพทย์บ้างแล้ว มีข้อดีคือ ในกรณีแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมากกว่าปกติ  ศัลแพทย์สามารถมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัดได้ชัดเจนในตำแหน่งที่เที่ยงตรง ควบคุมเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กจากระยะไกลได้ อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถผ่าตัดในกรณีที่เป็นการผ่าตัดซับซ้อนในอวัยวะสำคัญได้ เช่น การผ่าตัดในทรวงอก หรือเส้นเลือดในสมอง และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดา


3. ภูมิคุ้มกันบำบัด

ฃระบบภูมิคุ้มกันบำบัด สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในระบบภูมิคุ้มกันโรคมะเร็ง รวมถึงยังมีโอกาสที่จะพัฒนาเพื่อรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย จุดเด่นของภูมิคุ้มกันชนิดนี้ก็คือ ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้ยาวนานขึ้น โดยคาดว่าจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่รักษายากได้ เช่น โรคมะเร็งไฝ ที่ถือว่าเป็นความต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก เพราะเป็นโรคที่มีทางเลือกในการรักษาน้อย ในขณะที่แต่กลับตรวจพบผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 160,000 รายทั่วโลกต่อปี และมียอดผู้เสียชีวิตรายปีสูงถึง 40,000 ราย

พัฒนาการแบบใหม่ของระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้ได้สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยมากมาย เพราะภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะทำหน้าที่เข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์มะเร็งในร่างกายของเรา


4. การตรวจพิสูจน์ของเหลว

การตรวจพิสูจน์ของเหลว (Liquid Biopsy) สามารถสกัดเซลล์มะเร็งออกจากตัวอย่างเลือดธรรมดาๆได้  มีศักยภาพที่จะปฏิวัติการรักษาโดยการติดตามดูเซลล์มะเร็งแบบไม่รุกรานร่างกาย 

ปัจจุบันการตรวจชิ้นเนื้อซ้ำหลายๆรอบ คือสิ่งจำเป็นในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อร้าย แต่วิธีนี้ก็จะส่งผลต่อผู้ป่วยหากผู้ป่วยร่างกายไม่แข็งแรงเพียงพอ ดังนั้นการตรวจด้วยของเหลวจึงทำให้การวินิจฉัยโรคสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะทำให้แพทย์สามารถตรวจมะเร็งได้โดยไม่ต้อง “เข้าถึงตัวมะเร็ง” โดยจะมุ่งเน้นไปทางการตรวจสอบดีเอ็นเอและเซลล์มะเร็งแทนการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อ

เทคโนโลยีนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจแบบเดิม  และสามารถจับอาการของโรคได้ก่อนทำการทำซีทีสแกน ซึ่งหัวใจสำคัญคือ คาดว่าภายในเวลา 2 ปี การตรวจพิสูจน์ด้วยของเหลวนี้จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการตรวจรักษามะเร็ง


5. เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ

เนื่องจากความขาดแคลนอวัยวะที่ผ่านการบริจาคอย่างถูกกฎหมายเพิ่มขึ้นเรื่อย จึงคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ จะถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์เพื่อช่วยซ่อมแซม หรือเปลี่ยนเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล  จึงช่วยลดเวลาในการผ่าตัดและภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา  คาดการณ์ว่า ต่อไปธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการแพทย์จะมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญภายในปี 2025 โดยบริษัทที่เป็นผู้นำในเทคโนโลยีนี้ คือ Stratasys Ltd., Arcam AB, Organovo Holdings Inc., Johnson & Johnson Services Inc. และ Stryker


เทคโนโลยีศักยภาพสูงในการพลิกโฉมวงการสุขภาพ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/

xaquin

  • บุคคลทั่วไป
Re: เทคโนโลยีศักยภาพสูงในการพลิกโฉมวงการสุขภาพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 1 พฤษภาคม 2024, 11:49:21 น. »