การเติมพลังและความพร้อม และเทคนิคการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพเพื่อคืนสภาพร่างกาย
ความเหนื่อยล้าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันของแทบทุกคน บางคนอาจมีปัญหาชั่วคราวหรือบางคนอาจมีปัญหาเรื้อรัง ซึ่งทุกความเหนื่อยล้าควรได้รับการค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากสาเหตุของความเหนื่อยล้าอาจเป็นผลจากโรคหรือความเจ็บป่วยทั้งทางกายหรือทางใจ และในหลายครั้งอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยยา นอกเหนือไปจากนั้นการปรับพฤติกรรมยังมีส่วนเสริมสำคัญในการช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้า ซึ่งเทคนิคการพักผ่อนที่ไม่ใช่แค่การนอนหลับนั้น แต่ยังมีการพักผ่อนอื่นๆ ที่จำเป็นและจะช่วยฟื้นฟูพลังงานให้กับร่างกายและจิตใจ
ให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่มีคุณภาพ
โดยในแต่ละวันควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อให้ร่างกายมีเวลาในการซ่อมแซมและเติมพลังงาน และควรกำหนดเวลานอนหลับที่เป็นกิจวัตร รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนหลับให้เย็นสบาย มืดและเงียบ การนอนหลับที่มีคุณภาพส่งเสริมการเพิ่มพลังงานและสุขภาพทั้งหมด
การงีบพัก (power nap)
ในระหว่างวันสามารถช่วยฟื้นฟูพลังงานและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายและจิตใจ ช่วยให้เกิดการตื่นตัว มีสมาธิและอารมณ์ที่ดีขึ้น โดยระยะเวลาของการงีบพักที่ดีคือประมาณ 20-30 นาที
การฝึกสติและสมาธิ (mindfulness and meditation)
สามารถช่วยลดความเครียดและส่งเสริมความผ่อนคลาย ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีต่อวันในการนั่งเงียบๆ ก็ได้ โดยโฟกัสเบาๆ ไปที่ลมหายใจที่เข้าและออก โดยอาจฝึกการหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ไปด้วย และสังเกตความคิดโดยไม่สร้างการตัดสินใจใดๆ ที่จะนำไปสู่ความสมดุลทางอารมณ์ที่มีผลดีต่อการใช้พลังงานของร่างกายและสุขภาพโดยรวม
การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกาย
แม้จะดูเหมือนว่าจะทำให้เหนื่อยขึ้น แต่การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่น ความหนักระดับปานกลาง (moderate exercise) เป็นประจำอย่างน้อย 6 สัปดาห์สามารถช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายและลดความเหนื่อยล้าได้ และการเลือกทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น การเดิน การเต้นรำ โยคะ หรือกิจกรรมทางกายอื่นๆ ที่เข้ากับรสนิยมของตนเองจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากและเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับความเหนื่อยล้าได้
การพักใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
การพักใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดความรับรู้ต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเครียดและการใช้พลังงานของร่างกายเช่นกัน
วิธีการข้างต้นเป็นวิธีการพักผ่อนที่ทำได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ต้องอาศัยความแน่วแน่และวินัยในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว และที่สำคัญคือการพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาที่เหมาะสมหากความเหนื่อยล้ามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือเป็นเรื้อรัง และอาจพิจารณาการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมหรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลช่วยให้การใช้พลังงานของร่างกายเป็นปกติได้เช่นกัน
ภาวะเตียงดูดที่อาจไม่ใช่แค่ความขี้เกียจ
ภาวะเตียงดูด (dysania)
ภาวะเตียงดูด คือ ภาวะที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ง่ายๆ แม้นาฬิกาปลุกจะดัง ลืมตาตื่นแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถลุกไปทำกิจวัตรประจำวันที่ต้องการได้ จึงให้คนที่ประสบปัญหาภาวะนี้นั้นดูเหมือนเป็นคนขี้เกียจ ซึ่งเป็นปัญหาที่คนทั่วไปประสบ แต่แท้จริงแล้วภาวะเตียงดูดนี้อาจเกิดจากความผิดปกติก็ได้เช่นกัน ภาวะเตียงดูดนั้นอาจแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่มีปัญหาง่วงนอนมากๆ แม้จะลุกออกไปทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันแล้ว ก็ยังอยากกลับไปนอนอยู่ เรียกภาวะนี้ว่า “sleep inertia” มักพบในผู้ที่ทำงานเป็นกะ (shift work) หรืองานที่มักถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมากลางคัน และกลุ่มที่มีภาวะอ่อนเพลียหรือล้า (fatigue) ซึ่งเป็นภาวะรู้สึกหมดแรง ไม่อยากลุกออกไปทำกิจกรรม
สาเหตุของภาวะเตียงดูด
สาเหตุของภาวะเตียงดูดนั้นอาจเกิดได้จากภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome) โรคซึมเศร้า ความเศร้าโศกจากการสูญเสียหรือผิดหวังอย่างรุนแรง ภาวะผิดปกติของการนอนหลับ ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ต่ำ (hypothyroidism) โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง
การจัดการต้นเหตุภาวะเตียงดูด
การจัดการที่ต้นเหตุมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพบแพทย์เพื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ นอกจากนี้การออกกำลังกาย แม้จะดูเหมือนว่าจะทำให้เหนื่อยขึ้น แต่การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายและลดความเหนื่อยล้าได้ การให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่มีคุณภาพและการงีบพักในระหว่างวันช่วยส่งเสริมการเพิ่มพลังงานและสุขภาพโดยรวม อีกทั้ง การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีผลช่วยให้การใช้พลังงานของร่างกายเป็นปกติได้เช่นกัน
ยาแก้เมาเหล้า: การเติมพลังและความพร้อม และเทคนิคการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพเพื่อคืนสภาพร่างกาย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/