หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า อาหารทางการแพทย์แต่ไม่รู้ความหมายว่าคืออะไร อาหารทางการแพทย์คืออาหารที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ สามารถใช้เป็นอาหารทางสายยางได้ เป็นอาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับร่างกาย โดยมีหลายสูตร
ซึ่งอาหาาทางการแพทย์เป็นอาหารที่มีสูตรพิเศษ สำหรับความเจ็บป่วยเฉพาะโรค กล่าวคือผู้ป่วยที่ใช้อาหารทางการแพทย์นั้น ในแต่ละโรคต้องใช้สูตรที่แตกต่างกันเพราะอาหารทางการแพทย์ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันผู้ที่ใช้อาหารทางการแพทย์คือ ผู้ป่วยที่ต้องต่อสู้กับความเจ็บป่วยและไม่สามารถได้รับโภชนาการที่เพียงพอจากการรับประทานอาหารปกติ
ซึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือโรคไตร่างกายมีความต้องการสารอาหารเฉพาะสูตร ดังนั้นอาหารทางการแพทย์จึงสามารถเติมเต็มสารอาหารที่ผู้ป่วยต้องการได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาหารทางการแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในเรื่องของการรักษาโรคและไม่ได้ใช้แทนยาแต่เป็นเพียงใช้สนับสนุนการรักษาป่วยเท่านั้น สำหรับวันนี้อาหารปั่นผสมเราจะมาพูดถึงเรื่องของอาหารทางการแพทย์สำหรับโรคไตเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตจำนวนมากเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ทำให้เกิดการสะสมจนทำให้เกิดเป็นโรคไต
สำหรับอาหารทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จะมีลักษณะคืออาหารจะมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณแร่ธาตุ เช่นโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ที่อาจจะมีการคั่งอยู่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และมีปริมาณโปรตีนที่สูงถึง 17% ของพลังงานทั้งหมด เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตจะมีความต้องการโปรตีนเพิ่มสูงมากขึ้น และนอกจากนี้ต้องมีความเข้มข้นของพลังงานสูงคือให้พลังงาน 1.8 กิโลแคลอรี่ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาหารทางการแพทย์สูตรทั่วไป มักจะใช้พลังงาน 1 กิโลแคลอรี่ ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่ทำการล้างไตทางช่องท้อง และผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดที่มีผลข้างเคียงทำให้รับประทานอาหารได้น้อย หากจะต้องพิจารณาใช้อาหารทางการแพทย์ จะต้องมีการคำนวณปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยควรได้รับก่อนเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีนที่มากเกินไป
ซึ่งจะส่งผลทำให้ไตทำงานหนักและเสื่อมเร็วขึ้นได้ สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มไตเรื้อรังนี้ แพทย์อาจจะพิจารณาเรื่องอาหารทางการแพทย์ทั่วไปหรือสูตรอื่น ๆที่มีปริมาณแร่ธาตุและโปรตีนไม่สูงมากใช้ทดแทนได้ แต่ต้องมีการติดตามผลและประเมินผล โดยเฉพาะระดับแร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย ระดับโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม โรคไตเรื้อรังก็สามารถป้องกันได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
การหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป และควรที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งนี้หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจจะสร้างความเสียหายแก่ไตได้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตเรื้อรัง มักจะเกิดจากภาวะอื่นที่สร้างภาระให้แก่ไต อย่างเช่นภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้นต่อหลักของโรคไต และโรคเบาหวานนั้นก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไตของผู้ป่วยได้ เราสามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อบำรุงไตและลดรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุสูงทำให้ไตทำงานหนัก
สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตนั้นโดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือภาวะเบาหวานและควรรักษาให้เร็วที่สุดเพื่อคงสภาพการทำงานของไตและต้องลดความเสี่ยงกับการเกิดโรค ในกรณีโรคไตเรื้อรังส่วนมาก ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์แต่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำเพื่อลดโอกาสความเสี่ยงการเกิดโรคได้ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมภาวะหากป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง สิ่งสำคัญคือการควบคุมบริหารสภาวะสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และไปพบแพทย์เป็นประจำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นจะต้องได้รับการทดสอบการทำงานของไตในทุก ๆปี นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังได้อนอกจากจะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดอการรับประทานอาหารที่ดีอยังช่วยคงระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่ดีและสมดุลนั้น ต้องรวมทั้งผักผลไม้สดและธัญพืชรวมเข้าไปและควรจำกัดในเรื่องของปริมาณเกลือในอาหารไม่ให้มากกว่า 6 กรัมต่อวัน เพราะการบริโภคเกลือมากเกินไปจะทำให้เพิ่มความดันโลหิต โดยเกลือ 1 ช้อนชาจะเท่ากับน้ำหนัก 6 กรัมพอดีและที่สำคัญการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงก็ถือว่าเป็นประโยชน์ เพราะไขมันประเภทนี้จะเพิ่มคอเลสเตอรอลในเลือดให้ขึ้นสูง อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ ไส้กรอก เนื้อติดมัน เนย ครีม เนยแข็ง และอาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มอโดยการรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันปลา อาโวคาโด ถั่วเมล็ดพืช น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันมะกอก ทั้งนี้อาหารปั่นผสม เราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำเพราะจะช่วยลดความดันโลหิตได้และเสียงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังได้
อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคไตเรื้อรัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/