วิธีการป้องกัน การอุดตันของสายยางให้อาหารสายยาง !การให้อาหารสายยาง เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งในการให้อาหารทางสายยางจะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และผู้ที่ดูแลหรือผู้ที่ให้อาหารจะต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง
เพราะการให้อาหารทางสายยางบางครั้งอาจจะเกิดปัญหาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นสายยางให้อาหารหลุด มีการรั่วซึมรอบๆสายยางให้อาหาร ซึ่งการรั่วซึมก็อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ และในการให้อาหารทางสายยาง ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ไม่ควรหักหรือพับงอสายให้อาหารนานเกินไป อาจทำให้สายแตกหักหรือพับงอ ทำให้เกิดการอุดตันของอาหารได้ และกรณีใช้สายให้อาหารทางหน้าท้องชนิดลูกโป่ง ควรหมั่นตรวจสอบว่าตำแหน่งของสายที่ระดับผิวหนังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เนื่องจากสายอาจเลื่อนเข้าไปในกระเพาะมากเกินไป
สำหรับการป้องกันการอุดตันของสายยางให้อาหาร หากเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องของสายอาหารอุดตัน ผู้ดูแลควรให้น้ำหลังให้อาหาร หรือ นมทุกครั้งอย่างน้อย 20 – 30 ซีซี ในกรณีจำกัดปริมาณน้ำดื่ม ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน ถ้าผู้ป่วยต้องได้รับยาด้วย ควรให้น้ำก่อนและหลังให้ยาทุกครั้ง และในกรณีที่ให้อาหารแบบหยดช้าๆ ต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง ควรให้น้ำอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง
และทุกครั้งที่หยุดเครื่องควบคุมการไหลของอาหาร ให้น้ำทุกครั้งหลังจากตรวจสอบประมาณอาหารที่เหลือในกระเพาะ หากมิได้ให้อาหาร หรือ นมต่อ ซึ่งบางกรณีผู้ป่วยอาจจะถูกจำกัดในเรื่องของปริมาณน้ำ ซึ่งจะต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งการอุดตันของสายยางให้อาหารเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการบดยาไม่ละเอียด การให้อาหารทางสายยางที่หนืดเกินไป หรือการให้น้ำตามหลังการให้อาหาร หรือ ยาไม่ดีพอ ซึ่งถ้าเกิดการอุดตันอาจลองใช้น้ำอุ่นค่อยๆล้างและลองดูดด้วยกระบอกให้อาหาร ถ้ายังอุดตันให้ปรึกษาแพทย์
นอกจากนี้การอุดตันของสายยางให้อาหาร อาจจะทำให้เกิดการรั่วซึม รอบๆสายยางให้อาหาร อาจจะทำให้การติดเชื้่อที่แผลรูเปิด หรือ ซึ่งการรั่วซึมอาจเกิดจากการให้อาหารแก่ผู้ป่วยมากเกินไป ก่อนให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลควรเช็ดทำความสะอาดรอบๆรูเปิดแผล แล้วใช้ผ่าก๊อซรองไว้สำหรับดูดซับสิ่งรั่วซึมมีการยึดติดของเนื้อเยื่อรอบๆรูเปิดกับสายยางให้อาหาร ป้องกันโดยหมุนตัวสายให้อาหาร 360 องศา ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำเอง ทั้งนี้ก่อนการให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ร
วมไปถึงขั้นตอนการเตรียมภาชนะ หรืออุปกรณ์การให้อาหารทางสายยาง ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย หากอุปกรณ์ไม่มีความสะอาด อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ หรืออาจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอาเจียน หรือท้องเสีย เนื่องจากได้รับอาหารที่ไม่สะอาดนั่นเอง ทั้งนี้สายยางให้อาหารควรเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือน และไม่ควรใช้อาหารที่มีความร้อนเพราะจะทำให้อายุการใช้งานน้อยลง ด้วย