ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: สร้างบ้านอย่างไร ให้อยู่ได้อย่างสุขใจ ไร้เสียงรบกวน  (อ่าน 144 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 615
    • ดูรายละเอียด
แน่นอนว่าบ้านที่ดีที่สุด ก็ต้องย่อมเป็นบ้านที่สวยงามและสร้างได้แข็งแรงมั่นคงตามมาตรฐาน แต่จะได้ดีกว่านั้นเข้าไปอีก ก็ต้องเป็นบ้านที่อยู่แล้วเงียบสงบสุขไร้เสียงรบกวนด้วย ทั้งนี้ ทราบหรือไม่ว่า มีหลักเกณฑ์อะไรบ้างในการสร้างบ้านที่จะช่วยให้เราได้บ้านที่เงียบสงบและไร้เสียงรบกวนได้ วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างบ้าน และผู้ที่มีความตั้งใจอยากจะปลูกบ้านเอง รวมไปถึงผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านหลังใหม่อยู่ด้วย

การออกแบบบ้านปลอดเสียง


1.    ยิ่งบ้านอยู่ติดกันมาก ก็ยิ่งมีเสียงรบกวนมาก

หลักการข้อแรกของการสร้างบ้านคือเรื่องของ “ระยะห่าง” โดยที่เราควรสร้างบ้านให้ไม่ติดกันมาก และควรสร้างบ้านให้อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงดังมากที่สุด ทั้งนี้ ในที่โล่งทุกๆ  2 เท่า ของระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงสามารถลดความดังของเสียงได้ประมาณ 6 เดซิเบล


2.    รู้หรือไม่ว่าแนวรั้วกั้น ช่วยกันเสียงรบกวนได้

รั้วยิ่งสูง ยิ่งห่างจากบ้าน จะยิ่งมีความสามารถในการกันเสียงได้ดี โดยความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เมตร จะลดเสียงลงได้ประมาณ 1 เดซิเบล แต่เราก็จำเป็นต้องไม่สร้างรั้วสูงเกินระยะที่กฎหมายกำหนดด้วย ทั้งนี้ วัสดุที่ใช้ในการสร้างรั้ว ก็มีผลต่อประสิทธิภาพของการกันเสียงเช่นกัน โดยมีตัวอย่างประสิทธิภาพของวัสดุในการกันเสียง ดังนี้

วัสดุรั้วบ้าน

ก่ออิฐฉาบปูน หนา 20 ซม.     
สามารถกันเสียงได้  50  เดซิเบล

ก่ออิฐไม่ฉาบปูน หนา 7.5 ซม.     
สามารถกันเสียงได้  40  เดซิเบล

รั้วไม้ หนา   2  ซม.     
สามารถกันเสียงได้  25 เดซิเบล

รั้วสังกะสี  หนา  0.44  มม.     
สามารถกันเสียงได้  17  เดซิเบล

พิเศษ : ยิ่งเราปลูกต้นไม้ใบดกบริเวณริมรั้ว ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการกันเสียงลดเสียงรบกวนได้อีก


3.    ผนังและเพดานควรเสริมสร้างด้วยวัสดุป้องกันเสียง

บ้านที่ดีและบ้านที่อยู่แล้วมีความสุข ไม่มีเสียงรบกวนจนก่อให้เกิดความรำคาญใจนั้น ภายในบ้านควรมีระดับความดังของเสียงอยู่ที่ ไม่เกิน 35 เดซิเบล และสำหรับภายในห้องนอนระดับความดังของเสียงควรจะอยู่ที่ไม่เกิน 30 เดซิเบล

ทั้งนี้ เราสามารถที่จะควบคุมเสียงภายในบ้านและภายในห้องนอนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้โดยการใช้วัสดุป้องกันเสียงในผนัง และเพดาน โดยควรก่อผนังให้ชนท้องคานเพื่อกันเสียงเล็ดลอดจากห้องอื่น ติดตั้งฉนวนกันเสียง 1-2 ชั้น ติดตั้งแผ่นฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์หรือยิปซั่ม 1-2 ชั้น และควรใช้วัสดุลดเสียงสะท้อนภายในห้อง โดยติดตั้งวัสดุซึมซับเสียง ซึ่งสามารถเลือกได้หลากหลายประเภท อาทิ แผ่นใยแก้วหุ้มผ้า แผ่นโฟมซับเสียง หรือ Rockwool ก็ได้ ทั้งนี้ พื้นพรมและผ้าม่านมีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับเสียงได้ จึงสามารถนำมาใช้ตกแต่งได้ดี แต่สำหรับการตกแต่งโคมไฟ ไม่แนะนำให้เจาะฝังโคมดาวน์ไลท์ แต่ควรเลือกใช้เป็นโคมห้อย หรือโคมติดผนังแทน เพื่อกันเสียงเล็ดลอด

READ  ปรึกษาปัญหาเรื่องเสียง ฉนวนงานเสียง แผ่นซับเสียง
READ  ปัญหาเสียงในอาคารบ้านเรือนมาจากไหน

บ้านที่ได้รับการสร้างมาอย่างดี ผ่านการวางแผนการป้องกันและควบคุมเสียง นอกจากจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ถูกรบกวนจากเสียงรำคาญให้วุ่นวายใจแล้ว ยังช่วยให้สภาพแวดล้อมใกล้เคียงรอบๆ บ้านอยู่เย็นเป็นสุข สงบเงียบตามไปด้วย

กล่าวได้ว่าหมู่บ้านใดก็ตามที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการควบคุมเสียง การเลือกใช้วัสดุช่วยลด กัน และซึมซับเสียง หมู่บ้านนั้น โครงการบ้านนั้นๆ ก็จะมีสภาพสังคมความเป็นอยู่ที่ดี เป็นมิตรกับผู้อยู่อาศัย และทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบเงียบและมีความสุข



ฉนวนกันเสียง: สร้างบ้านอย่างไร ให้อยู่ได้อย่างสุขใจ ไร้เสียงรบกวน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/

xaquin

  • บุคคลทั่วไป