ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ไขข้อข้องใจทำไมฝนตกแล้วไฟดับบ่อย พร้อมวิธีรับมือหลังไฟฟ้าดับแ  (อ่าน 136 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 615
    • ดูรายละเอียด
เชื่อว่าเกือบทุกบ้านต้องเคยเจอปัญหาไฟดับตอนฝนตกหนัก หรือไฟดับบ่อยช่วงหน้าฝน จนทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมฝนตกแล้วไฟดับบ่อยเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น วันนี้เลยรวบรวมสาเหตุที่ทำให้ไฟดับตอนฝนตกมาฝาก อีกทั้งยังมีการเตรียมตัวรับมือเมื่อไฟดับ แจ้งที่ไหน ติดต่อใคร เตรียมตัวยังไง และระหว่างรอเจ้าหน้าที่แก้ปัญหาต้องทำอะไรบ้างเลย

สาเหตุที่ไฟดับบ่อยช่วงฝนตก
สาเหตุที่ทำให้ไฟฟ้าดับหรือไฟตกบ่อยช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะฝนตกหนัก เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรกเป็นเพราะช่วงที่ฝนตกมีความชื้นในอากาศสูง ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย ตามสภาพแวดล้อมและการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง นอกจากนี้อาจจะเป็นผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ลมพายุทำให้กิ่งไม้หักทับสายไฟฟ้าแรงสูง หรือมีรถชนเสาไฟฟ้าส่งผลให้สายไฟฟ้าแรงสูงขาด มีฟ้าผ่าในระบบไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้แรงดันในระบบไฟฟ้าสูงขึ้น และทำให้หม้อแปลงระเบิด รวมไปถึงลูกถ้วยที่รองรับสายไฟแรงสูงร้าวหรือแตก ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตัวตัดไฟหรือฟิวส์ไฟแรงสูงตก ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหากระแสไฟไม่พอและไฟดับ

นอกจากนี้อาจจะมาจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น มีสัตว์ติดค้างอยู่บนอุปกรณ์ส่งกระแสไฟ อุปกรณ์ในระบบส่งชำรุด รวมถึงการตัดกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในส่วนนี้ทางการไฟฟ้าฯ จะมีการประกาศไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ

ไฟฟ้าดับ ทำไงดี ?
เมื่อไฟดับ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ แจ้งหรือติดต่อไปที่การไฟฟ้าฯ โดยแบ่งตามพื้นที่คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ให้โทร. ไปแจ้งการไฟฟ้านครหลวง MEA ที่หมายเลข 1130 ส่วนคนที่อยู่ในจังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจาก 3 จังหวัดดังกล่าว ให้แจ้งไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA โทร. ไปที่หมายเลข 1129 พร้อมแจ้งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วในการตรวจสอบ ดังนี้

1. หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า 12 หลัก (จากบิลค่าไฟ)

– ชื่อ-นามสกุล ผู้ที่ขอใช้ไฟฟ้า (เจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า)
– ที่อยู่ของสถานที่เกิดเหตุ เช่น บ้านเลขที่, หมู่ที่, ชื่อหมู่บ้าน, ซอย, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด
– สถานที่ใกล้เคียงที่เป็นจุดเด่นใกล้สถานที่เกิดเหตุ เช่น วัด, สถานที่ราชการ
– สังกัดการไฟฟ้า(การไฟฟ้าที่ดูแลพื้นที่ของคุณลูกค้า)

2. ชื่อ-นามสกุล ของผู้แจ้งเหตุ

3. หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

4. วันและเวลาที่ไฟฟ้าดับ

5. ลักษณะของไฟฟ้าดับ เช่น ไฟฟ้าดับบริเวณกว้าง (ดับหลายหลัง) หริอไฟฟ้าดับที่บ้านหลังเดียว

6. สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ไฟฟ้าดับ

การเตรียมตัวรับมือเมื่อไฟดับฉุกเฉิน

หลังจากเช็กสถานการณ์และโทร. แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว ระหว่างรอให้ปฎิบัติตัว ดังนี้

1. เปิดประตู-หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท โดยเปิดแง้มเล็กน้อย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ฝนสาดเข้ามา

2. ใช้ไฟฉาย ไฟสำรอง หรือเทียน ช่วยเพิ่มความสว่าง

3. วางเทียนในที่ที่เหมาะสมและปริมาณที่พอดี เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ

4. ปิดสวิตช์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมดเพื่อป้องกันไฟกระชาก

5. หลีกเลี่ยงการเปิดตู้เย็น เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในตัวเครื่องไว้ช่วยถนอมอาหารไว้ให้นานที่สุด

ทั้งนี้หลังจากไฟกลับมาเป็นปกติแล้ว ควรเตรียมตัวและเตรียมข้าวของให้พร้อมรับมือไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินซ้ำ โดยจัดหาอุปกรณ์ เช่น แบตเตอรี่สำรอง เครื่องสำรองไฟ หลอดไฟแบบมีแบตฯ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ตะเกียง เทียนไข ไฟแช็ก ไม้ขีดไฟ พัดลมพกพา มาติดบ้านไว้ หรืออาจจะรวมไปถึงน้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรค และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น เผื่อกรณีที่ไฟดับนานด้วย

เพราะไฟดับตอนฝนตกเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ฉะนั้นแล้วการเตรียมพร้อมรับมือจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยให้เราจดเบอร์ติดต่อและข้อมูลเอาไว้ให้ดี แล้วก็อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เอาไว้ให้พร้อมด้วยนะคะ



บริหารจัดการอาคาร: ไขข้อข้องใจทำไมฝนตกแล้วไฟดับบ่อย พร้อมวิธีรับมือหลังไฟฟ้าดับแบบฉุกเฉิน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/

xaquin

  • บุคคลทั่วไป