ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: คำเตือน และ วิธีการใช้ยาแก้ปวดฟันสีชมพูไม่ให้อันตราย  (อ่าน 110 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 554
    • ดูรายละเอียด
จัดฟันบางนา: คำเตือน และ วิธีการใช้ยาแก้ปวดฟันสีชมพูไม่ให้อันตราย

เชื่อว่าหลายๆท่านที่เคยมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง และได้ไปทำการพบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะทำการรักษา โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักจะจ่ายยาแก้ปวดเม็ดสีชมพู ซึ่งทำให้หลายๆท่านอาจจะคิดว่าเป็นเพียงแค่ยาแก้ปวดพาราเซตามอลชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลยแม้แต่น้อย

ยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพู ที่ทันตแพทย์นิยมจ่ายให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดฟัน หรือทำการรักษารากฟัน รวมถึงผ่าฟันคุด ก็คือ ยาไอบรูโพรเฟน นั่นเอง


ซึ่งด้วยความเป็นห่วงจาก Clinic จึงอยากขอนำข้อมูลเกี่ยวกับยาไอบรูโพรเฟน หรือยาแก้ปวดฟันเม็ดสีชมพูนี้มาบอกต่อ ซึ่งมีทั้งคุณประโยชน์และโทษหากรับประทานในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


ยาไอบรูโพรเฟน คืออะไร ใช้อย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย ?

ยาไอบรูโพรเฟน หรือ Ibuprofen เป็นหนึ่งในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่เกี่ยวกับสเตียรอยด์ มักนิยมใช้ในการรักษาอาการปวด ลดไข้ และแก้อักเสบที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดฟัน ปวดหลัง ปวดโรคเกี่ยวกับไขข้อ ปวดประจำเดือน และการบาดเจ็บเล็กน้อย เป็นต้น

ยาไอบรูโพรเฟน ในท้องตลาดมีขายทั่วไปอยู่ที่ 2 ขนาด คือ ขนาด 400 มิลลิกรัม และขนาด 600 มิลลิกรัม ซึ่งความแตกต่างอยู่ที่ปริมาณตัวยาสำคัญ ซึ่งยาไอบรูโพรเฟนขนาด 600 มิลลิกรัม จะมีปริมาณตัวยาสำคัญที่สูงกว่าปกติ ซึ่งทางด้านแพทย์จะนิยมจ่ายยาไอบรูโพรเฟนขนาด 600 มิลลิกรัม ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม หรือโรคอักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากว่าผู้ป่วยจากโรคเหล่านี้มักมีอาการปวดที่อยู่ในขั้นรุนแรงกว่าปกติ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ยาแก้ปวดที่มีปริมาณตัวยาสำคัญมากกว่าปกติทั่วไป

ซึ่งสำหรับยาไอบรูโพรเฟนที่มีขนาด 400 มิลลิกรัม ซึ่งมีขนาดตัวยาสำคัญที่น้อยกว่า 600 มิลลิกรัมอย่างมาก หรือมีตัวยาสำคัญไม่ต่างกับยาทั่วไป มักจะนิยมใช้ในผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดเล็กน้อยถึงขนาดปานกลาง หรือสามารถใช้ในการลดไข้ได้

แต่ต่างจากอาการปวดฟัน ซึ่งทันตแพทย์มักจะให้ยาบรูโพรเฟนในปริมาณน้อยอยู่ที่ 200 – 400 มิลลิกรัม ในการรักษาอาการปวดฟัน และควรรับประทานในระยะเวลา 4 – 6 ชั่วโมง แต่ถ้าหากว่ารับประทานและอาการปวดฟันไม่ลดลง ยังมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องอาจเพิ่มปริมาณเป็น 600 มิลลิกรัม โดยให้รับประทานต่อเนื่องทุก 4 – 6 ชั่วโมง

 

คำเตือนในการใช้ยาไอบรูโพรเฟน ?

– ไม่ควรใช้ยาไอบรูโพรเฟนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากว่าอาจจะทำให้มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจวายได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงยาประเภทนี้

– เมื่อรับประทานยาไอบรูโพรเฟน อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในช่องท้องและลำไส้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงวัย การใช้ยาดังกล่าวด้วยตนเองโดยไม่ระมัดระวังอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้

– ยาไอบรูโพรเฟน อาจส่งผลเสียต่อลำไส้และกระเพาะอาหารได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาไอบรูโพรเฟนในขณะที่ท้องว่าง

– ไม่ควรรับประทานยาไอบรูโพรเฟนหากว่ามีอาการแพ้ยาในกลุ่มแอสไพริน หรือเคยมีอาการหอบหืดเฉียบพลัน

– สตรีที่มีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะใช้ยาไอบรูโพรเฟน หรือควรหลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 7-9 เดือน เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในครรภ์ได้

– ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หอบหืด หลอดเลือด โรคลิ่มเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคตับ และโรคไต ควรทำการปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง หรือแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเมื่อมีการจัดยาประเภทนี้ให้

– ผู้ที่เคยมีประวัติการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งที่จะรับประทานยาไอบรูโพรเฟน หรือเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด

– ห้ามใช้ยาไอบรูโพรเฟนทุกปริมาณกับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี

 
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หากว่าผู้ที่รับประทานยาไอบรูโพรเฟนเข้าไปแล้วมีผลข้างเคียง เช่น รู้สึกกระวนกระวาย มึนงง เลือดออกตามไรฟัน ผิวลอก สายตาผิดปกติ ท้องผูก ไอหนัก หนาวสั่น ปากแห้ง วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลียรุนแรง การเต้นของหัวใจผิดปกติ อาเจียน เป็นต้น หากว่ามีอาการข้างเคียงตามที่กล่าวมา ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์ หรือแพทย์ โดยเร็วที่สุด