ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันกันได้  (อ่าน 32 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 728
    • ดูรายละเอียด
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) สาเหตุ อาการ วิธีรักษา รู้ทันกันได้


สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคือภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด  ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน ที่ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม

ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลจะเข้าไปในเซลล์ไม่ได้จึงส่งผลให้เลือดมีน้ำตาลสูง เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ > 35 ปี


เช็คอาการของโรคเบื้องต้นด้วยตัวเอง

    ดื่มน้ำบ่อย
    ปัสสาวะบ่อยกลางคืน
    ตามัว
    เพลีย
    น้ำหนักตัวลดลงโดยอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุอื่น

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน

เกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ บางรายสร้างไม่ได้เลย พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี อาการที่เกิดขึ้นจึงรุนแรงกว่า


วิธีรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ตับอ่อน ซึ่งต้องติดตามผลวิจัยต่อไป

ชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

ตับอ่อนของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่สร้างอินซูลินได้อย่างค่อนข้างมาก แต่ร่างกายตอบสนองอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ เกิดภาวะต้านอินซูลิน ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานเป็น
ชนิดที่ 2

ช่วงแรกตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินมากเพื่อรองรับความต้องการสูงขึ้น แต่แล้วตับย่อยที่ทำงานหนักจะไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ เพื่อสนองกับน้ำตาลสูงๆได้

เริ่มแรก จึงรักษาด้วยการกินยาควบคุมอาหาร ไม่จำเป็นต่อใช้อินซูลิน ยกเว้นในรายที่ควบคุมอาหารได้ยาก น้ำตาลขึ้นลงเร็วหรือน้ำตาลสูงมาก จึงต้องฉีดอินซูลินเป็นบางครั้ง เมื่อใดที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน

เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด ซึ่งการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้น การควบคุมอาหารและการรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกาย จึงเป็นอีกวิธีที่เป็นการรักษาาและป้องกันโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยง

    อ้วน

    อายุมากกว่า 40 ปี

    มีภาวะความดันโลหิตสูง

    เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัมแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199มก./ดล.

    มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

    มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.

    มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน


ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาโรคเบาหวานในบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและไม่มีอาการผิดปกติ

    อายุมากกว่า 45 ปี  ถ้าหากผลตรวจปกติควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี
    ผู้ที่ควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 45 ปี  หรือ ต้องมีการตรวจซ้ำเป็นระยะถี่ขึ้น  ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัย ดังต่อไปนี้
        ดัชนีมวลกาย > 25 ( คำนวณจาก  {น้ำหนัก(kg) / ส่วนสูง2(เมตร)} )
        ประวัติโรคเบาหวานในญาติ  เช่น มี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน
        ประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก มากกว่า 4 กิโลกรัม หรือประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์
        ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 mmHg
        ไขมันในเลือดผิดปกติ HDL < 35 mg/dl, Triglyceride > 250 mg/dl
        เคยพบน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง > 100 mg/dl
        ออกกำลังกายน้อย
        มีโรคของหลอดเลือด
        เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)


การวินิจฉัย

เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานกำหนดว่าระดับต้องเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลิกรัมเปอร์เซนต์ขึ้นไปและถ้าพบในคนที่มีอาการเลยต้องตรวจซ้ำให้แน่อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น การวิจัยต้องเจาะเลือดตรวจเสมอ สำหรับคนที่ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วง 101 ถึง 125 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ถือว่าผิดปกติ แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน มีโอกาส ที่จะเกิดเบาหวานได้สูง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้

    งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี Calories เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ได้  > 126 mg/dl
    มีอาการของโรคเบาหวาน  ร่วมกับผลน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ของวันโดยไม่คำนึงถึงเวลาที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย ได้ > 200 mg/dl  HbA1c คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด  ในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ซึ่งเป้าหมายในการรักษาคือ ควบคุมให้ระดับ HbA1c < 6.5 หรือ 7 (แล้วแต่ประเภทของผู้ป่วย)

ค่านี้มีประโยชน์เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ควบคุมอาหารอย่างดีเพียง 1-2 วันก่อนวันก่อนพบแพทย์  ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบดี  แต่ความเป็นจริงคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมามิได้ควบคุมตนเอง  ซึ่งค่า HbA1c จะสูงฟ้องให้เห็นทำให้แพทย์สามารถเห็นค่าน้ำตาลที่แท้จริงได้  และหากค่า HbA1c ยิ่งสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน 


ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง (หรืออันตรายภัยเงียบจากเบาหวาน)

เบาหวาน มักจะพบในคนที่อ้วน มีญาติหรือบรรพบุรุษเป็นเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และมีไขมันในเลือดที่ผิดปกติร่วมด้วย สองโรคหลังนี้จะมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในร่างกาย ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาในอนาคต จึงต้องรักษาอย่างเข้มงวด ไปพร้อมๆ กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดที่ผิดปกติ มักพบร่วมกับโรคเบาหวาน เป็นตัวเร่งให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดขนาดใหญ่

    หลอดเลือดหัวใจ : ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
    หลอดเลือดสมอง : ทำให้เกิดภาวะอัมพาต  อัมพฤกษ์
    หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา : ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ  มีอาการปวดน่องเวลาเดิน  และอาจทำให้เกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
    จอประสาทตา : ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  และหากพบความผิดปกติ  สามารถรักษาได้โดยการ laser เพื่อป้องกันระดับสายตาเสื่อมลงและตาบอด อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องเบาหวานขึ้นตา
    ไต : ขั้นแรกจะตรวจพบ protein รั่วออกมาในปัสสาวะ และหากไม่ระวังดูแลให้ดีอาจทำให้เกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
    เส้นประสาท : อาการที่พบบ่อยคือ  มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน  หรือ ปวดรุนแรง หรือ รู้สึกชาแบบเหน็บชา หรือเหมือนถูกแทง  โดยมักมีอาการที่ปลายเท้า และ ปลายมือก่อน

หากเราไม่อยากให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานดังกล่าว เราจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่แรกวินิจฉัย  รวมทั้งตรวจหาและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วม อันได้แก่ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง


การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    ควบคุมอาหาร โดยลด ข้าว แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่นที่มีน้ำตาลโดยเฉพาะ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
    งดสูบบุหรี่
    รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์แนะนำ
    รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
    หากมีอาการผิดปกติ  เช่น อาเจียนมาก  รับประทานอาหารไม่ได้  ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากระดับน้ำตาลจะแกว่งสูงหรือต่ำได้มาก